วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประมวลภาพกิจกรรมการศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช ประจำปีการศึกษา 2554


.....สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืชได้นำ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช  คณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี   ไปศึกษาดูงานด้านเทคโนโลยีการผลิตพืช ในระหว่างวันที่ 26-29 มกราคม 2554 ณ จังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน โดยเริ่มจากบริษัท เอเอฟเอ็ม ฟลาวเวอร์ซีดส์ ประเทศไทย พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ และบริษัทล้านนาโอเรียนตั้ลไฮโดรโปนิกส์ 

...ประมวลภาพกิจกรรมการศึกษาดูงานในครั้งนี้ เริ่มจากวันที่ 27 มกราคม 2554 การศึกษาดูงานด้านการผลิตและการปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอกของ บริษัท        เอเอฟเอ็ม ฟลาวเวอร์ซีด ประเทศไทย จำกัด  ฟาร์มตั้งอยู่ที่ ตำบลเหมืองแก้ว อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่  บริษัทได้กรุณาจัดวิทยากร 2 ท่าน มาบรรยายให้ความรู้ด้านการผลิตไม้ดอก เริ่มตั้งแต่การผสมวัสดุปลูก ใช้ขุยมะพร้าว หรือใช้พีทมอส ผสมกับสารเคมีกันรา และสาหร่าย  การ เพาะเมล็ด การปลูกและการดูแลต้นกล้าไม้ดอกหลายชนิด เช่น ดาวเรือง บีโกเนีย ฯลฯ การปรับปรุงพันธุ์ ไม้ดอกให้ทนร้อน และทนโรค เช่น แพนซี  แพงพวย พิทูเนีย ไวโอล่า ฯลฯ 

การเพาะเมล็ดไม้ดอก

การปลูกและดูแลไม้ดอก
การปรับปรุงพันธุ์ไม้ดอก
     การศึกษาดูงานการดูแลรักษาราชอุทยาน และพรรณไม้ในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ
ทางพระตำหนักได้กรุณาจัดวิทยากรบรรยายในการดูแลรักษาราชอุทยาน  การรวบรวมและปลูกกุหลาบสายพันธุ์ต่างๆ และพรรณไม้ในราชอุทยาน นอกจากนี้ ยังจัดวิทยากรนำชมราชอุทยานบริเวณต่างๆ แนะนำกุหลาบสายพันธุ์ต่างๆ

ฟังบรรยายเกี่ยวกับการดูแลรักษาราชอุทยาน การรวบรวมและปลูกกุหลาบสายพันธุ์ต่างๆ
วิทยากรนำชมและบรรยายสถานที่ และพรรณไม้ภายในราชอุทยาน

กุหลาบพวงในราชอุทยานของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ

    กุหลาบส่วนใหญ่ในราชอุทยานเป็นกุหลาบประดับแปลง หรือใช้ปลูกประดับสวน ไม่ใช่กุหลาบตัดดอก แบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่มกุหลาบโบราณ กับกลุ่มกุหลาบยุคใหม่ แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ กุหลาบดอกเดี่ยว (Hybrid Teas) กุหลาบพวง (Floribundas) กุหลาบพวงดอกใหญ่ (Grandifloras) กุหลาบหนู (Miniatures) และกุหลาบเลื้อย (Climbers) (อ้างอิงจาก  ดัชนีพันธุ์กุหลาบภูพิงค์ http://www.bhubingpalace.org/rose.php)
กุหลาบสีม่วง ในกลุ่ม Hybrid Teas




กุหลาบพันธุ์ 'Black tea'
     กุหลาบพันธุ์ Black tea เป็นกุหลาบจำพวก Hybrid Teas มีกลีบดอกสีน้ำตาลแดงเหมือนชาอังกฤษ ผสมพันธ์ุ โดย K. Hirakata Nursery, Japan, 1973 เป็นลูกผสมระหวาง Hawaii x (Aztec x (Goldilocks x Fashion)) (อ้างอิงจาก  ดัชนีพันธุ์กุหลาบภูพิงค์ http://www.bhubingpalace.org/rose.php)

ดอกเดซี่ กำลังบานสะพรั่ง
       เดซี่ เป็นไม้ในวงศ์ Asteraceae จัดอยู่ในสกุล  Leucanthemum มีการกระจายพันธุ์อยู่แถบทวีป อเมริการเหนือ และยุโรป ไม้ดอกที่ถูกเรียกว่า เดซี ที่ปลูกในราชอุทยานของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ จัดอยู่ในกลุ่ม chrysanthenum หรือ เบญจมาศ
บีโกเนีย หรือส้มกุ้ง 
      บีโกเนีย หรือส้มกุ้ง เป็นไม้ดอกในสกุล Begonia  เป็นไม้สกุลใหญ่ ลำต้นอวบน้ำ บางชนิดมีใบหยัก หรือมีข้อปล้องยืด สูงใหญ่ แต่ที่พบในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ เป็นบีโกเนียประดับแปลง ออกดอกบานสะพรั่งหลายหลากสี
เทียนนิวกีนี เป็นไม้ทนร้อน ที่สามารถปลูกที่พื้นล่างได้ดี ใช้ปลูกประดับแปลง

กุหลาบพันธุ์ 'จุฬาลงกรณ์'
       กุหลาบพันธุ์ 'จุฬาลงกรณ์' จัดอยู่ในกลุ่มกุหลาบโบราณ นำเข้ามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเสด็จประพาสยุโรป  พระราชชายาเจ้าดารารัศมี นำมาปลูกที่เชียงใหม่ เมื่อครั้งเสด็จกลับมาประทับที่เชียงใหม่ ภายหลังที่พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จสวรรคต  

ซุ้มกุหลาบใน “สวนสุวรี”  
      เดิมที ต้นไม้ในราชอุทยานในพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศ เป็นป่า ไม้ใบและเฟิร์น ต่อมาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชเสาวนีย์ให้ ท่านผู้หญิงสุวรี เทพาคำ นางสนองพระโอษฐ์ ให้รับผิดชอบดูแล จัดรวบรวมกุหลาบสายพันธุ์ต่างๆ  มาปลูก จนกระทั่งราชอุทยานของพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศกลายเป็น  แหล่งรวบรวมพันธุ์กุหลาบที่มีความงดงามไม่แพ้ใคร แม้แต่่่่่่กระทั่งในต่างประเทศ  ซึ่งพระราชทานนาม "สวนสุวรี" ให้เป็นเกียรติแ่ด่ ท่านผู้หญิงสุวรี ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมไปแล้ว  การปลูกกุหลาบในราชอุทยาน เริ่มตั้งแต่ การรวบรวมพันธุ์ เมื่อวัสดุปลูกเก่าทรุดโทรม ก็ทำการขุดวัสดุปลูกเก่าออกทิ้ง โดยขุดแปลงลึกอย่างน้อย 80 ซม. จากทำการผสมวัสดุปลูกใหม่ เทใส่เข้าไปในหลุมให้สูงกว่าพื้นดินอย่างน้อย 30 ซม. เมื่อวัสดุปลูกยุบตัวจะได้ระดับพอดีกับผิวดิน  ทำการปลูกกุหลาบสายพันธุ์ต่างๆ ลงไป นอกจากนี้ ยังต้องตัดแต่งกิ่ง กุหลาบพันธุ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งซุ้มกุหลาบ โดยตัดใบทิ้งจนหมด ให้เหลือแต่กิ่ง เพื่อบังคับในกุหลาบแตกตาใหม่ ออกเป็นดอกและใบขึ้นมา เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว  ฤดูกาลที่กุหลาบออกดอกบานสะพรั่ง คือช่วงหลังปีใหม่ ถึงต้นเดือน กุมภาพันธ์
พญาเสือโคร่งหรือ ซากุระเมืองไทย
      ซากุระเป็นไม้ดอกเมืองหนาว แหล่งปลูกซากุระที่มีชื่อเสียงของโลก คือ ประเทศญี่ปุ่น ที่มีการจัดเทศกาลชมดอกซากุระ มีการนำเที่ยวชมดอกซากุระ หรือล่องเรือชมดอกซากุระ  ซากุระเป็นต้นไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มของเชอรี่ ต้องการอากาศเย็นจัดในการเกิดและพัฒนาตาดอก และทำลายการพักตัวของตาดอก ในประเทศญี่ปุนซากุระจึงบานพร้อมกันในช่วงต้นเดือนเมษายน และมีระยะเวลาในการบานของดอกไม่นานนัก ดอกจะร่วงอย่างรวดเร็วเมื่ออากาศอุ่นขึ้น หรือเมื่อฝนตก สำหรับในเมืองไทย พบต้นพญาเสือโคร่ง ซึ่งพบเฉพาะบริเวณภูเขาสูงที่มีอากาศหนาวเย็น ในจังหวัดเชียงใหม่ หรือเชียงราย มีลักษณะของดอกคล้ายคลึงกับดอกซากุระ  มีลักษณะดอกเป็นกลีบห้าแฉก บานในช่วงเดือนมกราคม
ต้นกล้าใหม่ ของสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กำลังนั่งพักเหนื่อย

กุหลาบพันธุ์ French Lace (เฟรนซ์เลข) จัดอยู่ในกลุ่ม Floribunda หรือกุหลาบพวงดอกใหญ่ สีชมพูสุดสวย
กุหลาบสีชมพูสุดสวย กลุ่ม Hybrid Tea

ระหว่างขึ้นชมสวนสุวรี

หญ้าหอม เป็นสมุนไพร ที่ให้กลิ่นหอม เมื่อเอามือลูบ ติดกลิ่นหอมอ่อนๆ  บางแห่งนำมาทำชาสมุนไพร
ซุ้มกุหลาบเลื้อยในสวนสุวรี
        ในวันที่ 28 มกราคม 2554 คณะศึกษาดูงาน ได้เข้าศึกษาดูงานที่ สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์มีกิจกรรมด้านเกษตรที่เด่นๆ คือการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ และจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรที่สำีัคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยผู้เข้ามาเยี่ยมชนจะได้รับความประทับใจจากความสวยงามของสวนดอกไม้ และต้นไม้นานาพันธุ์ และได้รับความรู้ด้านการเกษตรไปด้วย นอกจากนี้ยังมีส่วนงานเก็บรวบรวมพันธุ์เฟิร์น โรงเรือนรวบรวมและแสดงพันธุ์ไม้ดอก โรงเรือนปลูกผัก และโรงเรือนขยายพันธุ์ไม้ดอกและเฟิร์น

มะลิเลื้อย นำพันธุ์มาจากอังกฤษ


วิทยากรจากสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ กำลังบรรยายเกี่ยวกับเฟิร์นพันธุ์ต่างๆ
       โรงเรือนรวบรวมพันธุ์เฟิร์น เป็นสถานที่ที่รวบรวมพันธุ์เฟิร์นจากที่ต่างๆ นำมาเก็บไว้และแสดงพันธุ์ นอกจากนี้ยังใช้ในการคัดพันธุ์เฟิร์นที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นไม้ประดับเศรษฐกิจต่อไป
เฟิร์นนาคราชมาเลเชีย

โรงเรือนรวบรวมและแสดงพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับของสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์
 
วิทยากรบรรยายพันธุ์กล้วยไม้รองเท้านารี

แปลงรวบรวมพันธุ์บีโกเนีย หรือส้มกุ้ง

บีโกเนีย

บีโกเนีย หรือส้มกุ้ง

เปเปอร์โรเนีย

ตุ้มหูนางฟ้า

อาซาเลีย (Azalea) หรือกุหลาบพันปี


พักเหนื่อย

ดาวเรืองหม้อ หรือ คาเลนดูล่า (calendula)

ซิมบีเดียม (Cymbidium)

ไฮเดรนเยีย (hydrangea)

คาเมเลีย (camellia)
     คาเมเลีย (camellia) มีชื่อเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า tsubaki หรือ sazanka ในฝรั่งเศส white camellia เป็นเอกลักษณ์ของห้องเสื้อแบรนด์ดัง Coco Chanel ซึ่งใช้ white camellia เป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบเครื่องประดับ สร้อยคอ กระเป๋า ไปจนกระทั่งถึงรองเท้า การปลูกและพันธุ์คาเมเลีย อ่านได้ที่ เวปไซด์ http://www.rotherview.com/Growing%20Camellias.htm
เจอราเนียม (Geranium)
       เจอราเนียม (Geranium) หรือต้นไม้กันยุง เป็นพืชที่ผลิตน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นกลิ่นที่ยุงไม่ชอบ เจอราเนียมถูกนำมาปลูกเป็นไม้ดอกกระถางไล่ยุง ขยายพันธุ์ไ้ด้โดยการปักชำ
หญ้าหอม

พริกประดับ

เทียนกุหลาบ

เทียนกุหลาบกำลังออกดอกพร้อมกัน เหมาะกับการปลูกประดับแปลง

สับปะรดสีประเภทดอกสวยงาม

สับปะรดสี ประเภทใบสวยงาม

สับปะรดสีพวกไฟร์บอล
หน้าวัวกระถาง

หน้าวัวกระถาง

การจัดแสดงพรรณไม้ภายในโรงเรือน
ต้นกล้ามะเขือเทศเชอรี่

ต้นกล้าเซเลอรี่ (Celery)
      เซเลอรี่ (Celery) เป็นพืชวงศ์ Apiaceae (Umberlliferae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Apium graveolens var. secalium เป็นพืชวงศ์เดียวกับ พลาส์เล่ย์ ชอบอุณหภูมิเย็นในการเจริญเติบโต สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ ได้สั่งเมล็ดพันธุ์เซเลอรี่มาจากต่างประเทศ นำมาเพาะกล้าในตะกร้าพลาสติกดังภาพ โดยโรยเมล็ดเป็นแถวถี่ๆ ให้เมล็ดงอกเบียดๆ กัน จากนั้น จึงค่อยๆ ถอนแยกมาปลูกในถาดหลุมเพาะกล้า 1 ต้นต่อหลุม



ย้ายกล้าจากตะกร้าเพาะเมล็ดลงถาดหลุม
ย้ายกล้า 1 ต้นต่อหลุม

ต้นกล้าเซเลอรี่ที่อายุ 3-4 สัปดาห์


โรงเรือนเพาะกล้าชองสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เป็นโรงเรือนที่ออกแบบยาวและโค้งไปตามสถาพพื้นที่ภูเขา
ผักสลัดฝรั่ง บัตเตอร์เฮด ปลูกในสารละลายธาตุอาหารพืช (Hydroponics)
ปลูกผักสลัดฝรั่งด้วยระบบการปลูกแบบ Deep Flow Technique
ท่อนำสารละลายเข้า
ผลผลิตบัตเตอร์เฮดที่ได้
ท่อควบคุมระดับน้ำในถาด

โรงเรือนขยายพันธุ์ส้มกุ้ง

ตะกร้าเพาะสปอร์เฟิร์น
    วิทยากรได้อธิบายวิธีการเพาะสปอร์เฟิร์น ทำได้ง่ายๆ โดยการเตรียมวัสดุเพาะจากขุยมะพร้าว ฆ่าเชื้อและสาหร่ายด้วยการต้มน้ำร้อนราดให้ทั่ว จากนั้นตัดใบที่สปอร์มาใส่ซองจดหมาย ทิ้งไว้ 2-3 วัน หรือจนสปอร์แห้ง แตกออก ก็ทำความสะอาดเก็บเศษใบออกให้หมด ก่อนนำมาโรยบนวัสดุเพาะที่เตรียมไว้ หุ้มตะกร้าที่เพาะสปอร์ด้วยถุงพลาสติก ใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือนสปอร์ก็จะงอกเป็นต้น สามารถทำการปรับปรุงหรือผสมพันธุ์เฟิร์นได้ด้วยวิีธีง่ายๆ ด้วยการนำสปอร์ของเฟิร์นสองชนิดมาโรยบนวัสดุเพาะตะกร้าเดียวกัน จากนั้นสปอร์เพศผู้และเพศเมียจะทำการผสมพันธุ์กัน และได้เป็นเฟิร์นชนิดใหม่ขึ้นมา

ต้นกล้าของเฟิร์น

เฟิร์นข้าหลวง

เฟิร์นข้าหลวงหลังลาย

ปักชำต้นเจอราเนียม

ปักชำต้นเทียนกุหลาบ

ปักชำต้นมะลิเลื้อย
     ภายหลังจากศึกษาที่สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์แล้ว คณะศึกษาดูงานจึงขึ้นไปยังจุดสูงสุดแดนสยามของดอยอินทนนท์

ผักคราดหัวแหวน เป็นวัตถุดิบในการทำบุหงาโครงการหลวง
สูงสุดแดนสยาม

หมุดสูงสุดแดนสยาม
บริเวณถนนที่มีดินถล่มจนเป็นเหวลึก 200 เมตร

พระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ
ดอกตุ้มหูนางฟ้านำมาลอยน้ำตกแต่งสถานที่
อาซาเลีย หรือโรโดเดนดรอน (Rhododendron) หรือกุหลาบพันปี
      การศึกษาดูงานในวันที่ 29 มกราคม 2554 ศึกษาดูงานที่บริษัทล้านนาโอเรียลตั้ลไฮโดรโปนิกส์จำกัด  เวปไซด์บริษัท http://www.bellvillefarm.com/bellvillefarm/ นักศึกษาได้เข้าไปศึกษาวิธีการปลูกพริกหวานในระบบด้วยวัสดุปลูกไร้ดิน (substrate culture) ภายใต้โรงเรือนตาข่าย โดยได้รับความอนุิเคราะห์ในการบรรยายให้ความรู้จากเกษตรกรเจ้าของโรงเรือน คือ พี่ต้อม และพี่เซ็น พี่ต้อมได้พาน้องๆ เข้าไปชมการปลูกพริกหวานภายในโรงเรือนสาธิต พี่ต้อมอธิบายว่า พริกหวานที่ปลูกใช้ระยะเวลานับตั้งแต่เพาะกล้าจนถึงเก็บเกี่ยวประมาณ 3 เดือน จากนั้นจะเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตไปเรื่อยได้อีกประมาณ 5 เดือน รวมเวลาเพาะปลูกทั้งหมดประมาณ 8 เดือนต่อปี ลงทุนต่อตารางเมตรประมาณ 700-800 บาท/ตร.ม. ปลูกพริกได้ประมาณ 4 ถุงต่อตร.ม. ปลูก 2 ต้นต่อถุง แต่ละต้นไว้กิ่งหลักเพียง 2 กิ่ง และต้องหมั่นปลิดตาข้างออก ให้เหลือแต่กิ่งหลักเพียงสองกิ่ง มิฉะนั้นพริกจะมีกิ่งย่อยมาเกินไป และติดลูกมาก ทำให้กิ่งรับน้ำหนักไม่ไหว อาจจะทำให้กิ่งหักได้ สำหรับวัสดุที่ใช้ปลูกจะใช้ขุยมะพร้าวเป็นวัสดุปลูก ให้สารละลายธาตุอาหารพืชตามสูตร คือ มี stock A และ ฺฺB โดยบริษัทจะเป็นผู้จัดสารละลายธาตุอาหารพืชมาให้ ละลายธาตุอาหารแล้วปล่อยไปกับระบบน้ำหยด ใช้หัวน้ำหยดแบบปัก จะไม่ค่อยอุดตัน การให้สารละลายต้องคอยตรวจเช็คค่า pH กับ EC ของสารละลาย โดยใช้ pH ประมาณ 6-6.5 ส่วน EC เมื่อต้นพริกมีขนาดเล็กใช้ประมาณ 1.4-1.7 ms/cm เมื่อต้นโตขึ้น จึงค่อยๆ ปรับความเข้มข้นขึ้นให้ถึง 2.5-3.0 ms/cm และต้องหมั่นคอยเช็ค ค่า EC และ pH บริเวณหัวน้ำหยด และเจาะตรวจสารละลายที่ไหลออกจากก้นถุง เพราะเมื่อให้สารละลายไปนานๆ มักจะมีเกลือตกค้างในวัสดุปลูก พริกหวานที่ปลูกจะปลูกพริกสีแดง สีเขียว และสีเหลือง ตามออร์เดอร์ที่ลูกค้าต้องการ พริกสีเขียวจะเก็บจากพริกหวานพันธุ์สีแดง เพราะสีเขียวของลูกพริกจะเข้มกว่า สีเขียวของลูกพริกพันธุ์สีเหลือง  ผลผลิตต่อต้นจะเก็บได้ประมาณต้นละ 4 กก. นำมาัคัดขนาดไซส์ ตามความต้องการของลูกค้า
พี่ต้อมกำลังอธิบายให้น้องๆ ฟัง

การไว้กิ่งหลัก 2 กิ่งต่อต้น ปลูก 2 ต้นต่อถุง

ลักษณะของผลเกรด A
หัวน้ำหยดแบบปัก

ต้นพริกหวานขณะอายุ 6-7 เดือน เป็นช่วงปลายของฤดูเก็บเกี่ยว

พี่ต้อมกำลังให้ความรู้เรื่องธาุตุอาหารพืช

พริกหวานสีเหลือง

ฟังบรรยายหรือการให้ข้อคิดเรื่องการทำอาชีพอิสระโดยการปลูกพริกหวานจากคุณลุงสมมล
    ลุงสมมลเป็นผู้ริเริ่มธุรกิจเกษตรด้านพริกหวาน โดยพริกหวานยังเป็นตลาดที่มีความต้องการผลผลิตอีกตกวันละ 22 ตัน แต่ขณะนี้ มีการผลิตหวานวันละไม่ถึง 2 ต้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นพริกหวานแช่แข็ง หรือพริกหวานแห้งคืนรูปเมื่อแช่น้ำร้อน
คุณลุงสมมลแนะนำบริษัทและพี่เจ้าของบ้านพริกหวาน

พี่เซ็นกำลังอธิบายการผสมสารละลายธาุตุอาหารพริกหวาน
     การให้สารละลายธาตุอาหารกับพริกหวานเริ่มจากการละลายสารเคมีสำหรับทำ stock A และ ฺB จากนั้นทำการผสม stock A และ ฺ B ลงในถังผสมขนาด 3,000 ลิตร โดยเติม stock ละ 8 ลิตรต่อน้ำ 3,000 ลิตร กวนให้ผสมเข้ากัน วัดค่า pH กับ EC  จากนั้นจึงปล่อยเข้าแปลงโดยใช้ระบบแมนนวล หรือควบคุมด้วยคน โดยให้สารละลายธาุตุอาหาร 4 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 250 ccต่อต้น หรือประมาณ 1 ลิตรต่อต้นต่อวัน แบ่งให้น้ำตอนเช้าสองครั้ง และตอนบ่ายอีก 2 ครั้ง และต้องมีถังสำหรับเก็บสต็อคน้ำสะอาดเพื่อให้มีน้ำเพียงพออยู่ตลอดเวลา สารละลาย 1 ถัง ขนาด 3,000 ลิตร จะปล่อยให้เลี้ยงพริกหวานได้ประมาณ 14,000 ต้น ในหนึ่งวันต้องให้สารละลายทั้งหมด 4 ถัง

พี่เซ็นสาธิตเครื่องวัด EC

จุ่มวัดค่า EC ในถัง
ถังสต็อคน้ำ

พี่ต้อมอธิบายถังเก็บ stock A และ B สำหรับจ่ายสารละลายอัตโนมัติควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
ระบบจ่ายปุ๋ยอัตโนมัติควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ จะดูด stock A และ B มาผสมกันในท่อแล้วจ่ายออกไปยังต้นพริก

บริเวณท่อที่ผสม stock A และ B

ท่อดูด stock A และ B
กำหนดอัตราความเข้มข้นของสารละลาย ปริมาตรและเวลาด้วยคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการจ่ายสารละลาย
พี่ต้อมสรุปบทเรียนและให้ข้อคิดในการประกอบอาชีพ

พี่เซ็นให้ข้อคิดในการประกอบอาชีพ
  
     สรุปผลจากการศึกษาดูงาน นักศึกษาส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการจัดโปรแกรมการศึกษาดูงานในครั้งนี้เป็นอย่างมาก ทำให้กระบวนการผลิตทางเกษตรที่ครบวงจร ตั้งแต่เมล็ดพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษา พรรณไม้ต่างๆ  ไปจนกระทั่งถึงการประกอบธุรกิจที่เห็นเป็นรูปธรรม ในการจะนำไปประกอบอาชีพได้ต่อไปในอนาคต


1 ความคิดเห็น:

  1. สวยงามมากครับ มีโอกาส ผมจะพาภรรยาและลูกน้อยไปเที่ยวเพื่อดื่มด่ำกับโอโซนบริสุทธิ์สักครั้ง สวยงามมากมายเลยทีเดียว

    ตอบลบ